𝐂𝐡𝐞𝐦𝐢𝐜𝐚𝐥


รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์

การจัดเรียงอะตอมต่าง ๆ ในโมเลกุลโคเวเลนต์มีตำแหน่งและทิศทางที่แน่นอนจึงทำให้โมเลกุลโคเวเลนต์ของสารต่าง ๆ มีรูปร่างแตกต่างกัน สิ่งที่ใช้บอกรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์จะเป็นอย่างไรนั้น คือ การจัดเวเลนต์อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางของธาตุในโมเลกุลโคเวเลนต์ นอกจากนั้นความยาวพันธะและมุมระหว่างพันธะยังสามารถใช้บอกรูปร่างโมเลกุลได้ด้วย
ความยาวพันธะ (Bond length) คือ ระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่หนึ่งที่มีพันธะต่อกัน
มุมระหว่างพันธะ (Bond angle) คือ มุมที่เกิดจากอะตอมสองอะตอมทำกับอะตอมกลางหรือมุมที่เกิดระหว่างพันธะสองพันธะ 
หลักในการพิจารณารูปร่างโมเลกุล
โมเลกุลโคเวเลนต์เกิดจากการยึดเหนี่ยวกันจองอะตอมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ที่มีความแตกต่างของค่า E.N.ต่างกันมากจนเกิดขึ้นเป็นประจุไฟฟ้าขึ้นอย่างเด่นชัีด และจัดเรียงตัวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้าโครงสร้างของ โมเลกุลโควาเลนต์ในสามมิตินั้น สามารถพิจารณาได้จากการผลักกันของอิเลคตรอนที่มีอยู่รอบๆ อะตอมกลางเป็นสำคัญ โดยอาศัยหลักการที่ว่า อิเลคตรอนเป็นประจุลบเหมือนๆ กัน ย่อมพยายามที่แยกตัวออกจากกันให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ดังนั้นการพิจารณาหาจำนวนกลุ่มของอิเลคตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียสและอะตอมกลาง จะสามารถบ่งบอกถึงโครงสร้างของโมเลกุลนั้น ๆ ได้ โดยที่กลุ่มต่าง ๆ มีดังนี้
  • อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว
  • อิเลตตรอนคู่รวมพันธะได้แก่
  • พันธะเดี่ยว
  • พันธะคู่
  • พันธะสาม
ทั้งนี้โดยเรียงตามลำดับความสารารถในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นเนื่องจากอิเลคตรอนโดดเดี่ยวและอิเลคตรอนที่สร้างพันธะนั้นต่างกันตรงที่อิเลคตรอนโดยเดี่ยวนั้นถูกยึดด้วยอะตอมเพียงตัวเดียว ในขณะที่อิเลคตรอนที่ใช้สร้างพันธะถูกยึดด้วยอะตอม 2 ตัวจึงเป็นผลให้อิเลคตรอนโดดเดี่ยวมีอิสระมากกว่าสามารถครองพื้นที่ในสามมิติได้มากกว่าส่วนอิเลคตรอนเดี่ยว และอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว รวมไปถึงอิเลคตรอนคู่ร่วมพันธะแบบต่าง ๆ นั้นมีจำนวนอิเลคตรอนไม่เท่ากันจึงส่งผลในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอิ่น ๆ ได้มีเท่ากัน โครงสร้างที่เกิดจกการผลักกันของอิเลคตรอนนั้ สาารถจึดเป็นกลุ่มได้ตามจำนวนจองอิเคตรอนที่มีอยูได้ตั้งแต่ 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 กลุ่ม ไปเรื่อยๆ เรียกวิธีการจัดตัวแบบนี้ว่า ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเลคตรอนวงนอก(Valence Shell Electron Pair Repulsion : VSEPR) 
                                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปร่างโมเลกุล

ความคิดเห็น